|
ยินดีต้อนรับบล๊อกของผมครับ
วันพุธที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557
ย้อนรอย ประวัติหลอดไฟ ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
วันจันทร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2556
ประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่สอง
ประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่สอง

สงครามโลกครั้งที่หนึ่งยุติลงในปี 1918 ด้วยความพ่ายแพ้ของเยอรมัน ฝ่ายพันธมิตรในขณะนั้นประกอบด้วย อิตาลี ฝรั่งเศส อังกฤษและสหรัฐอเมริกา ได้ร่วมกันร่างสนธิสัญญาแวร์ซาย (the Varsailles treaty) เพื่อจำกัดสิทธิของเยอรมัน ในอันที่จะเป็นภัยคุกคามอีกครั้ง สนธิสัญญาแวร์ซายลงนามในวันที่ 28 มิ.ย. 1919 ส่งผลให้กองทัพเยอรมันถูกจำกัดขนาดให้เล็กลง ดินแดนต่างๆ ถูกริบ หรือยึดครอง ดังที่ปรากฏในแผนที่ข้างบน อาทิ ฝรั่งเศสเข้าครอบครองอัลซาส ลอเรนน์ (Alsace-Lorranine) เบลเยี่ยมยึดอูเปนและมาลเมดี (Eupen, Malmedy) โปแลนด์เข้าครอง Posen และปรัสเซียตะวันออกบางส่วน ดานซิก (Danzig) กลายเป็นรัฐอิสระ ฝรั่งเศสเข้าควบคุมเหมืองถ่านหินในแคว้นซาร์ (Saar) แลกกับการที่เยอรมันทำลายเหมืองถ่านหินของตน ทางตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำไรน์ กลายเป็นเขตปลอดทหาร (Demilitarized) และยึดครองโดยฝ่ายพันธมิตรลึกเข้าไป 30 ไมล์ นอกจากนี้เยอรมันยังต้องชดใช้ค่าปฏิกรรมสงครามเป็นเง ินอีก 6,600 ล้านปอนด์

ในเดือนมกราคม 1933 อดอฟ ฮิตเลอร์ ผู้นำพรรคนาซี ได้ขึ้นดำรงตำแหน่ง Chancellor ของประเทศเยอรมัน และเป็นผู้นำสูงสุดของประเทศในที่สุด (Fuhrer) ในปี 1935 ฮิตเลอร์ได้เริ่มฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศที่กำลังตกต ่ำอย่างรวดเร็ว และในวันที่ 16 มีนาคม 1935 ฮิตเลอร์ก็ประกาศเสริมสร้างกองทัพเยอรมันขึ้นใหม่ ซึ่งเท่ากับเป็นการฉีกสนธิสัญญาแวร์ซาย แต่เนื่องจากนโยบายต่างประเทศของเขา ที่พยายามแสดงให้พันธมิตรเห็นว่า เขาไม่ใช่ภัยคุกคามต่อพันธมิตร และเป็นผู้ที่ต้องการสันติภาพเช่นเดียวกับอังกฤษและฝ รั่งเศส เพียงแต่ต้องการฟื้นฟูประเทศเยอรมันที่ตกต่ำเท่านั้น ทำให้พันธมิตรนิ่งเฉยต่อการดำเนนิการของฮิตเลอร์ และแล้วในเดือนมีนาคม 1936 เขาก็ส่งทหารกลับเข้าไปยึดครองแคว้นไรน์ ที่ตามสนธิสัญญาแวร์ซายกำหนดให้เป็นเขตปลอดทหาร พร้อมๆกับส่งทหารเยอรมันเข้าสนับสนุน กองกำลังชาตินิยมของนายพลฟรังโก ในสงครามกลางเมืองในสเปน และลงนามเป็นพันธมิตรกับมุสโสลินีของอิตาลี เดือนมีนาคม 1938 ผนวกออสเตรียเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเยอรมัน ซึ่งถือเป็นจุดกำเนิดอาณาจักรใหม่ของเยอรมัน นั่นคือ อาณาจักรไรซ์ที่สาม (the Third Reich - new German Empire) จากนั้นก็เข้ายึดครองตอนเหนือของเชคโกลโลวะเกียในเดื อนกันยายน 1938 และยึดครองทั้งประเทศใน มีนาคม 1939 พร้อมๆกันนั้นฮิตเลอร์ก็เข้ายึดคองเมืองท่าเมเมล (Memel) ของลิธัวเนีย ซึ่งประชากรส่วนใหญ่เป็นคนเชื้อสายเยอรมัน จากนั้นก็ยึดดานซิกและส่วนที่แบ่งแยกเยอรมัน กับปรัสเซียตะวันออกของโปแลนด์
รุ่งอรุณของวันที่ 1 กันยายน 1939 เครื่องบินของกองทัพอากาศเยอรมัน หรือลุฟวาฟ (Luftwaffe) ก็เริ่มต้นการทิ้งระเบิดถล่มจุดยุทธศาสตร์ในประเทศโป แลนด์ พร้อมๆกับกำลังรถถังและทหารราบ ก็เคลื่อนกำลังผ่านชายแดนโปแลนด์เข้าไปอย่างรวดเร็ว เป็นครั้งแรกที่โลกได้เห็นสงครามสายฟ้าแลบ (Blitzkeieg) ที่ใช้เครื่องบินทิ้งระเบิดนำ ตามด้วยยานเกราะและทหารราบ เข้าบดขยี้หน่วยทหารโปแลนด์ที่เสียขวัญ จากการทิ้งระเบิดของเครื่องบิน วันที่ 2 กันยายน อังกฤษและฝรั่งเศส ในฐานะประเทศพันธมิตรของโปแลนด์ ยื่นคำขาดต่อฝ่ายเยอรมัน ให้ถอนทหารออกจากโปแลนด์ แต่ฮิตเลอร์ปฏิเสธ วันที่ 3 กันยายน 1939 ฝรั่งเศสและอังกฤษ ประกาศสงครามกับเยอรมัน ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สอง และต่อจากนี้ไป โลกจะนองไปด้วยเลือดและน้ำตา อีกเป็นเวลากว่า 5 ปี

แผนที่ยุโรป ในปี 1942 ซึ่งฮิตเลอร์ได้เข้าครอบครองยุโรปเกือบทั้งหมด สีน้ำตาลอ่อนนั้นคือดินแดนในครอบครองของเยอรมัน จะเห็นว่าฝรั่งเศสแบ่งออกเป็นสองส่วน คือส่วนที่เยอรมันครอบครอง และส่วนที่ไม่ได้ครอบครอง (Unoccupied Zone) แต่ปกครองโดยรัฐบาลหุ่นของเยอรมัน โดยจอมพลวิซี่
สีน้ำตาลเข้ม คือฝ่ายอักษะ ซึ่งเป็นพันธมิตรของเยอรมัน มีทั้ง อิตาลี ฮังการี โรมาเนีย บัลกาเรีย ฟินแลนด์
สีขาวคือ ประเทศเป็นกลาง มี สวิตเซอร์แลนด์ สเปน สวีเดน และไอร์แลนด์ สเปนเป็นประเทศที่ฮิตเลอร์ผิดหวังมาก เพราะก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง ฮิตเลอร์ส่งกำลังเข้าไปช่วยในสงครามกลางเมือง แต่เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่สองขึ้น รัฐบาลสเปนกลับวางตัวเป็นกลาง แทนที่จะเข้าร่วมกับเยอรมัน
สีเขียวคือฝ่ายพันธมิตร มีอังกฤษ และรัสเซีย
เครดิตจากเวป http://www.geocities.com คับท่าน ^^ ความรู้ประดับหัว หุหุ

สงครามโลกครั้งที่หนึ่งยุติลงในปี 1918 ด้วยความพ่ายแพ้ของเยอรมัน ฝ่ายพันธมิตรในขณะนั้นประกอบด้วย อิตาลี ฝรั่งเศส อังกฤษและสหรัฐอเมริกา ได้ร่วมกันร่างสนธิสัญญาแวร์ซาย (the Varsailles treaty) เพื่อจำกัดสิทธิของเยอรมัน ในอันที่จะเป็นภัยคุกคามอีกครั้ง สนธิสัญญาแวร์ซายลงนามในวันที่ 28 มิ.ย. 1919 ส่งผลให้กองทัพเยอรมันถูกจำกัดขนาดให้เล็กลง ดินแดนต่างๆ ถูกริบ หรือยึดครอง ดังที่ปรากฏในแผนที่ข้างบน อาทิ ฝรั่งเศสเข้าครอบครองอัลซาส ลอเรนน์ (Alsace-Lorranine) เบลเยี่ยมยึดอูเปนและมาลเมดี (Eupen, Malmedy) โปแลนด์เข้าครอง Posen และปรัสเซียตะวันออกบางส่วน ดานซิก (Danzig) กลายเป็นรัฐอิสระ ฝรั่งเศสเข้าควบคุมเหมืองถ่านหินในแคว้นซาร์ (Saar) แลกกับการที่เยอรมันทำลายเหมืองถ่านหินของตน ทางตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำไรน์ กลายเป็นเขตปลอดทหาร (Demilitarized) และยึดครองโดยฝ่ายพันธมิตรลึกเข้าไป 30 ไมล์ นอกจากนี้เยอรมันยังต้องชดใช้ค่าปฏิกรรมสงครามเป็นเง ินอีก 6,600 ล้านปอนด์

ในเดือนมกราคม 1933 อดอฟ ฮิตเลอร์ ผู้นำพรรคนาซี ได้ขึ้นดำรงตำแหน่ง Chancellor ของประเทศเยอรมัน และเป็นผู้นำสูงสุดของประเทศในที่สุด (Fuhrer) ในปี 1935 ฮิตเลอร์ได้เริ่มฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศที่กำลังตกต ่ำอย่างรวดเร็ว และในวันที่ 16 มีนาคม 1935 ฮิตเลอร์ก็ประกาศเสริมสร้างกองทัพเยอรมันขึ้นใหม่ ซึ่งเท่ากับเป็นการฉีกสนธิสัญญาแวร์ซาย แต่เนื่องจากนโยบายต่างประเทศของเขา ที่พยายามแสดงให้พันธมิตรเห็นว่า เขาไม่ใช่ภัยคุกคามต่อพันธมิตร และเป็นผู้ที่ต้องการสันติภาพเช่นเดียวกับอังกฤษและฝ รั่งเศส เพียงแต่ต้องการฟื้นฟูประเทศเยอรมันที่ตกต่ำเท่านั้น ทำให้พันธมิตรนิ่งเฉยต่อการดำเนนิการของฮิตเลอร์ และแล้วในเดือนมีนาคม 1936 เขาก็ส่งทหารกลับเข้าไปยึดครองแคว้นไรน์ ที่ตามสนธิสัญญาแวร์ซายกำหนดให้เป็นเขตปลอดทหาร พร้อมๆกับส่งทหารเยอรมันเข้าสนับสนุน กองกำลังชาตินิยมของนายพลฟรังโก ในสงครามกลางเมืองในสเปน และลงนามเป็นพันธมิตรกับมุสโสลินีของอิตาลี เดือนมีนาคม 1938 ผนวกออสเตรียเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเยอรมัน ซึ่งถือเป็นจุดกำเนิดอาณาจักรใหม่ของเยอรมัน นั่นคือ อาณาจักรไรซ์ที่สาม (the Third Reich - new German Empire) จากนั้นก็เข้ายึดครองตอนเหนือของเชคโกลโลวะเกียในเดื อนกันยายน 1938 และยึดครองทั้งประเทศใน มีนาคม 1939 พร้อมๆกันนั้นฮิตเลอร์ก็เข้ายึดคองเมืองท่าเมเมล (Memel) ของลิธัวเนีย ซึ่งประชากรส่วนใหญ่เป็นคนเชื้อสายเยอรมัน จากนั้นก็ยึดดานซิกและส่วนที่แบ่งแยกเยอรมัน กับปรัสเซียตะวันออกของโปแลนด์
รุ่งอรุณของวันที่ 1 กันยายน 1939 เครื่องบินของกองทัพอากาศเยอรมัน หรือลุฟวาฟ (Luftwaffe) ก็เริ่มต้นการทิ้งระเบิดถล่มจุดยุทธศาสตร์ในประเทศโป แลนด์ พร้อมๆกับกำลังรถถังและทหารราบ ก็เคลื่อนกำลังผ่านชายแดนโปแลนด์เข้าไปอย่างรวดเร็ว เป็นครั้งแรกที่โลกได้เห็นสงครามสายฟ้าแลบ (Blitzkeieg) ที่ใช้เครื่องบินทิ้งระเบิดนำ ตามด้วยยานเกราะและทหารราบ เข้าบดขยี้หน่วยทหารโปแลนด์ที่เสียขวัญ จากการทิ้งระเบิดของเครื่องบิน วันที่ 2 กันยายน อังกฤษและฝรั่งเศส ในฐานะประเทศพันธมิตรของโปแลนด์ ยื่นคำขาดต่อฝ่ายเยอรมัน ให้ถอนทหารออกจากโปแลนด์ แต่ฮิตเลอร์ปฏิเสธ วันที่ 3 กันยายน 1939 ฝรั่งเศสและอังกฤษ ประกาศสงครามกับเยอรมัน ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สอง และต่อจากนี้ไป โลกจะนองไปด้วยเลือดและน้ำตา อีกเป็นเวลากว่า 5 ปี
ทหารเยอรมัน กำลังรุกเข้าสู่โปแลนด์ ภาพนี้ถ่ายเมื่อวันที่ 18 ก.ย. 39 โดยกองทัพเยอรมันแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ กลุ่มกองทัพเหนือ (Army Group North) รุกลงใต้จาก Pomerania และจากปรัสเซียตะวันออก และ กลุ่มกองทัพใต้ (Army Group South) รุกเข้าไปทางชายแดนด้านตะวันตกของโปแลนด์ ภายในเวลาสองวัน กองทัพอากาศเยอรมันก็สามารถครองน่านฟ้าเหนือโปแลนด์ไ ด้
กองทหารโปแลนด์ถูกเยอรมันรุกแบบสายฟ้าแลบ คือ ทิ้งระเบิดด้วยเครื่องบิน และใช้ยานเกราะที่มีความเร็วสูงตีเจาะแนวตั้งรับ เมื่อเจาะเข้าไปได้แล้ว รถถังจะโอบหลังหน่วยทหารโปแลนด์ ทำให้เกิดวงล้อมเล็กๆขึ้น ภายในวงล้อมใหญ่ จากนั้นทหารราบเยอรมันจะทำการกวาดล้างทหารโปแลนด์ที่ อยู่ในวงล้อมนั้นๆ จนกระทั่งวันที่ 14 กันยายน วงล้อมต่างๆ ก็ถูกกวาดล้างจนเกือบจะหมดสิ้น และวันที่ 27 กันยายน โปแลนด์ก็ยอมแพ้ในที่สุด
การใช้ความเร็วเข้าพิชิตโปแลนด์นั้น สาเหตุหนึ่งเพื่อลดการสูญเสียของทหารเยอรมัน แต่อีกสาเหตุหนึ่งก็คือ ฮิตเลอร์เกรงว่า ฝรั่งเศสซึ่งประกาศสงครามกับเยอรมันในฐานะพันธมิตรขอ งโปแลนด์ จะรุกเข้ามาทางชายแดนด้านตะวันตกของเยอรมัน เพราะในฝรั่งเศสมีทหารอังกฤษประจำการอยู่ถึง 150,000 คนประจำการอยู่ตามแนวชายแดนเบลเยี่ยม ส่วนกองพลของฝรั่งเศส 43 กองพล ซึ่งถือเป็นกำลังส่วนใหญ่ประจำอยู่หลังแนวมายิโนต์ (Maginot)

ทหารเยอรมันกำลังสวนสนาม ประกาศชัยชนะบนถนนกลางกรุงวอร์ซอร์ ในวันที่ 5 ตุลาคม 1939 ภายหลังการเข้ายึดครองประเทศโปแลนด์อย่างสมบูรณ์ เมื่อโปแลนด์ประกาศยอมแพ้ในวันที่ 27 กันยายน 1939 โปรดสังเกตุหน่วยทหารรักษาความปลอดภัย ตามแนวถนน ที่เห็นอยู่ด้านหลัง จะเห็นว่ามีการรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวดมาก เนื่องมาจากสองสาเหตุคือ การสวนสนามในครั้งนี้ อดอฟ ฮิตเลอร์เดินทางมาร่วมงานประกาศชัยชนะ และสาเหตุที่สองคือ การต่อต้านของฝ่ายโปแลนด์ ยังไม่หมดลงอย่างสิ้นซาก แม้กระทั่งในวันสวนสนามนี้ กลุ่มต่อต้านของโปแลนด์เพิ่งจะถูกกวาดล้างจากบริเวณ Kock ทางตะวันออกเฉียงใต้ของกรุงวอร์ซอร์
สงครามครั้งนี้ ชาวโปแลนด์ทั้งทหารและพลเรือนเสียชีวิตกว่า 66,000 คน บาดเจ็บ 200,000 คน ถูกจับเป็นเชลย 700,000 คน ฝ่ายเยอรมันสูญเสียน้อยกว่ามาก โดยมีผู้เสียชีวิต 10,500 คน และบาดเจ็บ 30,300 คน
อย่างไรก็ตาม ฝันร้ายของชาวโปแลนด์เพิ่งจะเริ่มต้น เพราะต่อจากนี้ไปอีก 5 ปีแห่งการยึดครอง ชาวโปแลนด์จะถูกปฏิบัติเยี่ยงทาส เพราะแนวความคิดของนาซีเยอรมันที่มีต่อชาวโปแลนด์ คือชนชาติชั้นทาส (a slave nation) ดังนั้นการยึดครองโปแลนด์จึงไม่ใช่แค่การยึดครองแต่เ พียงดินแดน หากแต่ต้องการทำลายเอกลักษณ์ของชาติโปแลนด์อย่างสิ้น เชิงอีกด้วย ภาพการสวนสนามที่เห็นนี้ นาซีเยอรมันใช้ในการโฆษณาประชาสัมพันธ์ หรือที่ฝ่ายสัมพันธมิตรเรียกว่า การโฆษณาชวนเชื่อ (propaganda) เพื่อแสดงให้เห็นถึงความเข็มแข็งของทหารเยอรมัน ซึ่งผลจากการเผยแพร่ภาพเหล่านี้ ทำให้ประเทศต่างๆ เกิดความเกรงกลัวศักยภาพของนาซีเยอรมันเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตามคงไม่มีใครปฏิเสธว่า ตามความเป็นจริงแล้ว กองทัพนาซีเยอรมันในขณะนั้น นับเป็นกองทัพที่มีความเข้มแข็งที่สุดกองทัพหนึ่งของ โลก

ภายหลังที่พิชิตโปแลนด์แล้ว ฮิตเลอร์ก็มองต่อไปที่นอร์เวย์ ในฐานะที่จะใช้เป็นฐานของกองทัพอากาศ ส่งเครื่องบินเข้าโจมตีเกาะอังกฤษ 4 เมษายน 1940 เยอรมันก็บุกนอรเวย์ เมืองท่านาร์วิก (Narvik) ถูกยึดในวันที่ 9 เมษายน อังกฤษและฝรั่งเศสส่งกำลังเข้าตอบโต้ แต่ไม่เป็นผล กำลังพันธมิตรที่ยกพลขึ้นบกที่ Trondheim ถูกทหารเยอรมันกวาดล้างจนต้องถอยกลับไป
ในวันที่ 28 พฤษภาคม พันธมิตรยึดเมืองนาร์วิกได้ แต่ก็ถอยกลับไปอีก การรุกของพันธมิตร แม้จะทำความเสียหายให้กองทัพเรือเยอรมันอย่างหนัก แต่เยอรมันก็รุกเข้ากรุงออสโล เมืองหลวงของนอร์เวย์ ท่ามกลางการต่อต้านอย่างเหนียวแน่น แต่ไม่นานออสโลก็ยอมแพ้
วันที่ 14 พฤษภาคม 1940 กองทัพเยอรมันก็รุกข้ามแม่น้ำเมิร์ส (Meuse) ที่เมืองซีดาน (Sedan) ล้อมทหารอังกฤษและฝรั่งเศส ที่อยู่ในเบลเยี่ยมและฝรั่งเศสตอนเหนือ วันที่ 20 พฤษภาคม รถถังของเยอรมันก็รุกถึงช่องแคบอังกฤษ ทหารอังกฤษ ฝรั่งเศสกว่า 338,000 คน ในจำนวนนี้เป็นทหารอังกฤษ 225,000 คน ก็ไปจนมุมที่ดังเคิร์ก (Dankirk) และล่าถอยกลับเกาะอังกฤษ ปล่อยให้เยอรมันกวาดล้าง ทหารฝรั่งเศสที่หลงเหลืออยู่บนแผ่นดินใหญ่จนหมดสิ้น ในวันที่ 22 พฤษภาคม ฝรั่งเศสก็ยอมแพ้
อีกสี่วันต่อมา การต่อต้านของทหารฝรั่งเศสก็ยุติลงอย่างสิ้นเชิง ยุโรปตกเป็นของฮิตเลอร์อย่างสิ้นเชิง เป้าหมายของเขาต่อไปก็คือ เกาะอังกฤษ ซึ่งเขาสั่งเปิดยุทธการสิงโตทะเล (Sealion) ในวันที่ 10 กรกฎาคม 1940 โดยกองทัพอากาศเยอรมัน รับหน้าที่ทำลายกำลังทางอากาศ และภาคพื้นดินของอังกฤษด้วยการโจมตีทางอากาศอย่างหนั ก การรบรุนแรงมากที่สุดในช่วงกลางเดือนสิงหาคม โดยเฉพาะวันที่ 15 สิงหาคม เยอรมันโจมตีอย่างหนัก และสูญเสียเครื่องบินถึง 72 ลำ จนวันนี้ได้รับการตั้งชื่อว่าวันพฤหัสดำ (Black Thursday) ความสูญเสียของเยอรมันมีมากจนฮิตเลอร์ต้องสั่งเลื่อน ยุทธการ สิงโตทะเลออกไปอย่างไม่มีกำหนด เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 1940

เครื่องบิน Ju 87 สตูก้า (Stuka) ของเยอรมัน เป็นเครื่องบินดำทิ้งระเบิด ซึ่งมีบทบาทมาก ในช่วงต้นของสงคราม โดยทำหน้าที่ทิ้งระเบิดที่มั่นของทหารโปแลนด์ เบลเยี่ยม อังกฤษ และฝรั่งเศส จนเป็นเหตุให้แนวตั้งรับของพันธมิตรแตกลงอย่างรวดเร็ ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรบในฝรั่งเศส ในภาพจะเห็นตอนหัวของเครื่องใกล้กับใบพัด มีไซเรนสีขาวติดอยู่ เพื่อทำให้เกิดเสียงแหลมขณะเครื่องดำดิ่งลงสู่เป้าหม าย เป็นการทำลายขวัญของทหารฝ่ายตรงข้าม
จุดอ่อนของเครื่องบินชนิดนี้ก็คือ เมื่อดำลงไปทิ้งระเบิดแล้ว ขณะที่นักบินเชิดหัวเครื่องขึ้น ในช่วงนี้เครื่องบินจะตกเป็นเป้านิ่งของเครื่องบินข้ าศึกได้ง่าย ในการโจมตีเกาะอังกฤษของฮิตเลอร์ ตามแผนยุทธการสิงโตทะเล (Sealion) ซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม1940 เครื่องบินชนิดนี้ ประสบกับความสูญเสียจาก เครื่องบินขับไล่ ของอังกฤษเป็นอย่างมาก จนต้องถอนกำลังออกมา ภายหลังเครื่องบินสตูก้านี้ ได้รับการปรับปรุงให้เป็นเครื่องบินทำลายรถถัง (tank buster) ในแนวรบด้านรัสเซีย
กองทหารโปแลนด์ถูกเยอรมันรุกแบบสายฟ้าแลบ คือ ทิ้งระเบิดด้วยเครื่องบิน และใช้ยานเกราะที่มีความเร็วสูงตีเจาะแนวตั้งรับ เมื่อเจาะเข้าไปได้แล้ว รถถังจะโอบหลังหน่วยทหารโปแลนด์ ทำให้เกิดวงล้อมเล็กๆขึ้น ภายในวงล้อมใหญ่ จากนั้นทหารราบเยอรมันจะทำการกวาดล้างทหารโปแลนด์ที่ อยู่ในวงล้อมนั้นๆ จนกระทั่งวันที่ 14 กันยายน วงล้อมต่างๆ ก็ถูกกวาดล้างจนเกือบจะหมดสิ้น และวันที่ 27 กันยายน โปแลนด์ก็ยอมแพ้ในที่สุด
การใช้ความเร็วเข้าพิชิตโปแลนด์นั้น สาเหตุหนึ่งเพื่อลดการสูญเสียของทหารเยอรมัน แต่อีกสาเหตุหนึ่งก็คือ ฮิตเลอร์เกรงว่า ฝรั่งเศสซึ่งประกาศสงครามกับเยอรมันในฐานะพันธมิตรขอ งโปแลนด์ จะรุกเข้ามาทางชายแดนด้านตะวันตกของเยอรมัน เพราะในฝรั่งเศสมีทหารอังกฤษประจำการอยู่ถึง 150,000 คนประจำการอยู่ตามแนวชายแดนเบลเยี่ยม ส่วนกองพลของฝรั่งเศส 43 กองพล ซึ่งถือเป็นกำลังส่วนใหญ่ประจำอยู่หลังแนวมายิโนต์ (Maginot)

ทหารเยอรมันกำลังสวนสนาม ประกาศชัยชนะบนถนนกลางกรุงวอร์ซอร์ ในวันที่ 5 ตุลาคม 1939 ภายหลังการเข้ายึดครองประเทศโปแลนด์อย่างสมบูรณ์ เมื่อโปแลนด์ประกาศยอมแพ้ในวันที่ 27 กันยายน 1939 โปรดสังเกตุหน่วยทหารรักษาความปลอดภัย ตามแนวถนน ที่เห็นอยู่ด้านหลัง จะเห็นว่ามีการรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวดมาก เนื่องมาจากสองสาเหตุคือ การสวนสนามในครั้งนี้ อดอฟ ฮิตเลอร์เดินทางมาร่วมงานประกาศชัยชนะ และสาเหตุที่สองคือ การต่อต้านของฝ่ายโปแลนด์ ยังไม่หมดลงอย่างสิ้นซาก แม้กระทั่งในวันสวนสนามนี้ กลุ่มต่อต้านของโปแลนด์เพิ่งจะถูกกวาดล้างจากบริเวณ Kock ทางตะวันออกเฉียงใต้ของกรุงวอร์ซอร์
สงครามครั้งนี้ ชาวโปแลนด์ทั้งทหารและพลเรือนเสียชีวิตกว่า 66,000 คน บาดเจ็บ 200,000 คน ถูกจับเป็นเชลย 700,000 คน ฝ่ายเยอรมันสูญเสียน้อยกว่ามาก โดยมีผู้เสียชีวิต 10,500 คน และบาดเจ็บ 30,300 คน
อย่างไรก็ตาม ฝันร้ายของชาวโปแลนด์เพิ่งจะเริ่มต้น เพราะต่อจากนี้ไปอีก 5 ปีแห่งการยึดครอง ชาวโปแลนด์จะถูกปฏิบัติเยี่ยงทาส เพราะแนวความคิดของนาซีเยอรมันที่มีต่อชาวโปแลนด์ คือชนชาติชั้นทาส (a slave nation) ดังนั้นการยึดครองโปแลนด์จึงไม่ใช่แค่การยึดครองแต่เ พียงดินแดน หากแต่ต้องการทำลายเอกลักษณ์ของชาติโปแลนด์อย่างสิ้น เชิงอีกด้วย ภาพการสวนสนามที่เห็นนี้ นาซีเยอรมันใช้ในการโฆษณาประชาสัมพันธ์ หรือที่ฝ่ายสัมพันธมิตรเรียกว่า การโฆษณาชวนเชื่อ (propaganda) เพื่อแสดงให้เห็นถึงความเข็มแข็งของทหารเยอรมัน ซึ่งผลจากการเผยแพร่ภาพเหล่านี้ ทำให้ประเทศต่างๆ เกิดความเกรงกลัวศักยภาพของนาซีเยอรมันเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตามคงไม่มีใครปฏิเสธว่า ตามความเป็นจริงแล้ว กองทัพนาซีเยอรมันในขณะนั้น นับเป็นกองทัพที่มีความเข้มแข็งที่สุดกองทัพหนึ่งของ โลก

ภายหลังที่พิชิตโปแลนด์แล้ว ฮิตเลอร์ก็มองต่อไปที่นอร์เวย์ ในฐานะที่จะใช้เป็นฐานของกองทัพอากาศ ส่งเครื่องบินเข้าโจมตีเกาะอังกฤษ 4 เมษายน 1940 เยอรมันก็บุกนอรเวย์ เมืองท่านาร์วิก (Narvik) ถูกยึดในวันที่ 9 เมษายน อังกฤษและฝรั่งเศสส่งกำลังเข้าตอบโต้ แต่ไม่เป็นผล กำลังพันธมิตรที่ยกพลขึ้นบกที่ Trondheim ถูกทหารเยอรมันกวาดล้างจนต้องถอยกลับไป
ในวันที่ 28 พฤษภาคม พันธมิตรยึดเมืองนาร์วิกได้ แต่ก็ถอยกลับไปอีก การรุกของพันธมิตร แม้จะทำความเสียหายให้กองทัพเรือเยอรมันอย่างหนัก แต่เยอรมันก็รุกเข้ากรุงออสโล เมืองหลวงของนอร์เวย์ ท่ามกลางการต่อต้านอย่างเหนียวแน่น แต่ไม่นานออสโลก็ยอมแพ้
วันที่ 14 พฤษภาคม 1940 กองทัพเยอรมันก็รุกข้ามแม่น้ำเมิร์ส (Meuse) ที่เมืองซีดาน (Sedan) ล้อมทหารอังกฤษและฝรั่งเศส ที่อยู่ในเบลเยี่ยมและฝรั่งเศสตอนเหนือ วันที่ 20 พฤษภาคม รถถังของเยอรมันก็รุกถึงช่องแคบอังกฤษ ทหารอังกฤษ ฝรั่งเศสกว่า 338,000 คน ในจำนวนนี้เป็นทหารอังกฤษ 225,000 คน ก็ไปจนมุมที่ดังเคิร์ก (Dankirk) และล่าถอยกลับเกาะอังกฤษ ปล่อยให้เยอรมันกวาดล้าง ทหารฝรั่งเศสที่หลงเหลืออยู่บนแผ่นดินใหญ่จนหมดสิ้น ในวันที่ 22 พฤษภาคม ฝรั่งเศสก็ยอมแพ้
อีกสี่วันต่อมา การต่อต้านของทหารฝรั่งเศสก็ยุติลงอย่างสิ้นเชิง ยุโรปตกเป็นของฮิตเลอร์อย่างสิ้นเชิง เป้าหมายของเขาต่อไปก็คือ เกาะอังกฤษ ซึ่งเขาสั่งเปิดยุทธการสิงโตทะเล (Sealion) ในวันที่ 10 กรกฎาคม 1940 โดยกองทัพอากาศเยอรมัน รับหน้าที่ทำลายกำลังทางอากาศ และภาคพื้นดินของอังกฤษด้วยการโจมตีทางอากาศอย่างหนั ก การรบรุนแรงมากที่สุดในช่วงกลางเดือนสิงหาคม โดยเฉพาะวันที่ 15 สิงหาคม เยอรมันโจมตีอย่างหนัก และสูญเสียเครื่องบินถึง 72 ลำ จนวันนี้ได้รับการตั้งชื่อว่าวันพฤหัสดำ (Black Thursday) ความสูญเสียของเยอรมันมีมากจนฮิตเลอร์ต้องสั่งเลื่อน ยุทธการ สิงโตทะเลออกไปอย่างไม่มีกำหนด เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 1940

เครื่องบิน Ju 87 สตูก้า (Stuka) ของเยอรมัน เป็นเครื่องบินดำทิ้งระเบิด ซึ่งมีบทบาทมาก ในช่วงต้นของสงคราม โดยทำหน้าที่ทิ้งระเบิดที่มั่นของทหารโปแลนด์ เบลเยี่ยม อังกฤษ และฝรั่งเศส จนเป็นเหตุให้แนวตั้งรับของพันธมิตรแตกลงอย่างรวดเร็ ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรบในฝรั่งเศส ในภาพจะเห็นตอนหัวของเครื่องใกล้กับใบพัด มีไซเรนสีขาวติดอยู่ เพื่อทำให้เกิดเสียงแหลมขณะเครื่องดำดิ่งลงสู่เป้าหม าย เป็นการทำลายขวัญของทหารฝ่ายตรงข้าม
จุดอ่อนของเครื่องบินชนิดนี้ก็คือ เมื่อดำลงไปทิ้งระเบิดแล้ว ขณะที่นักบินเชิดหัวเครื่องขึ้น ในช่วงนี้เครื่องบินจะตกเป็นเป้านิ่งของเครื่องบินข้ าศึกได้ง่าย ในการโจมตีเกาะอังกฤษของฮิตเลอร์ ตามแผนยุทธการสิงโตทะเล (Sealion) ซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม1940 เครื่องบินชนิดนี้ ประสบกับความสูญเสียจาก เครื่องบินขับไล่ ของอังกฤษเป็นอย่างมาก จนต้องถอนกำลังออกมา ภายหลังเครื่องบินสตูก้านี้ ได้รับการปรับปรุงให้เป็นเครื่องบินทำลายรถถัง (tank buster) ในแนวรบด้านรัสเซีย
รถถัง Panzer Mark I ของเยอรมันในช่วงต้นของสงครามโลกครั้งที่สอง สัญญลักษณ์ของกองทัพนาซีที่ติดกับยานเกราะ ยังเป็นเพียงกากบาทสีขาว แต่มีข้อแนะนำว่า กากบาทนี้ กลายเป็นจุดเล็งอย่างดีให้กับปืนใหญ่ของฝ่ายข้าศึก จึงมีการเปลี่ยนโดยเพิ่มกากบาทสีดำภายในกากบาทสีขาวใ นช่วงการบุกเข้าไปในคาบสมุทรบอลข่าน และเรียกสัญญลักษณ์ใหม่นี้ว่า บอลข่านคริซ (Balkan krzyz) นอกจากนี้จะสังเกตุเห็นหมวกแบเร่ต์สีดำของทหารยานเกร าะ หรือหน่วยแพนเซอร์ ซึ่งใช้เฉพาะช่วงแรกของสงคราม คือในการรบในโปแลนด์และฝรั่งเศส ต่อมาได้ยกเลิกไปในกลางปี 1941 และใช้หมวกแก๊ปแทน

ภายหลังยกเลิกยุทธการสิงโตทะเลในการบุกเกาะอังกฤษแล้ ว ฮิตเลอร์เตรียมบุกรัสเซีย แต่ก็ต้องส่งกำลังเข้าบุกยูโกสลาเวียใน 6 เมษายน 1941 และกรีซ (Greece) ก่อน เพราะรัฐบาลยูโกสลาเวียที่เป็นฝ่ายเยอรมันถูกโค่นล้ม โดยฝ่ายปฏิวัติที่สนับสนุนโดยทหารอังกฤษที่กรีซ ซึ่งทำให้แผนการบุกรัสเซียต้องล่าช้าออกไป
เยอรมันใช้เวลาเพียง 10 วันในการยึดยูโกสลาเวีย และใช้เวลากว่าสองสัปดาห์ ยึดกรีซได้สำเร็จ ทหารอังกฤษกว่า 18,000 คนในกรีซถอยไปตั้งมั่นอยู่ที่เกาะครีต (Crete)
ฮิตเลอร์ส่งกำลังพลร่ม หรือ ฟอลชริม เจกอร์ (Fallschirmjager) เข้าโจมตีเกาะครีต เป็นการปฏิบัติการส่งทางอากาศครั้งยิ่งใหญ่ของเยอรมั น ซึ่งแม้เยอรมันจะยึดเกาะครีตได้สำเร็จ ในปลายเดือนพฤษภาคม แต่ก็ต้องประสบกับความสูญเสียอย่างหนัก โดยมีทหารพลร่มเยอรมันเสียชีวิตและบาดเจ็บถึงกว่า 10,000 คน และนับจากยุทธการที่เกาะครีต ฮิตเลอร์ก็ไม่เคยสั่งใช้กำลังพลร่มในการโจมตีใหญ่ๆ อีกเลย
หลังจากต้องเสียเวลาในการจัดการกับประเทศในบอลข่านแล ้ว ฮิตเลอร์ก็เปิดฉากบุกรัสเซียในเวลา 03.30 รุ่งอรุณของวันที่ 22 มิถุนายน 1941 ในยุทธการบาร์บารอสซ่า เป็นเวลา 129 ปี หลังจากที่นโปเลียนโบนาปาร์ต จักรพรรดิ์แห่งฝรั่งเศส บุกรัสเซียเมื่อปี 1812 ทหารเยอรมันกว่าสามล้านคน รถถัง 3,580 คัน ปืนใหญ่ 7,184 กระบอก เครื่องบินกว่า 2,000 ลำ กำลังมุ่งหน้าเข้าไปสู่หล่มแห่งความหายนะครั้งยิ่งให ญ่ของอาณาจักรไรซ์ที่สาม ของฮิตเลอร์

ภายหลังยกเลิกยุทธการสิงโตทะเลในการบุกเกาะอังกฤษแล้ ว ฮิตเลอร์เตรียมบุกรัสเซีย แต่ก็ต้องส่งกำลังเข้าบุกยูโกสลาเวียใน 6 เมษายน 1941 และกรีซ (Greece) ก่อน เพราะรัฐบาลยูโกสลาเวียที่เป็นฝ่ายเยอรมันถูกโค่นล้ม โดยฝ่ายปฏิวัติที่สนับสนุนโดยทหารอังกฤษที่กรีซ ซึ่งทำให้แผนการบุกรัสเซียต้องล่าช้าออกไป
เยอรมันใช้เวลาเพียง 10 วันในการยึดยูโกสลาเวีย และใช้เวลากว่าสองสัปดาห์ ยึดกรีซได้สำเร็จ ทหารอังกฤษกว่า 18,000 คนในกรีซถอยไปตั้งมั่นอยู่ที่เกาะครีต (Crete)
ฮิตเลอร์ส่งกำลังพลร่ม หรือ ฟอลชริม เจกอร์ (Fallschirmjager) เข้าโจมตีเกาะครีต เป็นการปฏิบัติการส่งทางอากาศครั้งยิ่งใหญ่ของเยอรมั น ซึ่งแม้เยอรมันจะยึดเกาะครีตได้สำเร็จ ในปลายเดือนพฤษภาคม แต่ก็ต้องประสบกับความสูญเสียอย่างหนัก โดยมีทหารพลร่มเยอรมันเสียชีวิตและบาดเจ็บถึงกว่า 10,000 คน และนับจากยุทธการที่เกาะครีต ฮิตเลอร์ก็ไม่เคยสั่งใช้กำลังพลร่มในการโจมตีใหญ่ๆ อีกเลย
หลังจากต้องเสียเวลาในการจัดการกับประเทศในบอลข่านแล ้ว ฮิตเลอร์ก็เปิดฉากบุกรัสเซียในเวลา 03.30 รุ่งอรุณของวันที่ 22 มิถุนายน 1941 ในยุทธการบาร์บารอสซ่า เป็นเวลา 129 ปี หลังจากที่นโปเลียนโบนาปาร์ต จักรพรรดิ์แห่งฝรั่งเศส บุกรัสเซียเมื่อปี 1812 ทหารเยอรมันกว่าสามล้านคน รถถัง 3,580 คัน ปืนใหญ่ 7,184 กระบอก เครื่องบินกว่า 2,000 ลำ กำลังมุ่งหน้าเข้าไปสู่หล่มแห่งความหายนะครั้งยิ่งให ญ่ของอาณาจักรไรซ์ที่สาม ของฮิตเลอร์

แผนที่ยุโรป ในปี 1942 ซึ่งฮิตเลอร์ได้เข้าครอบครองยุโรปเกือบทั้งหมด สีน้ำตาลอ่อนนั้นคือดินแดนในครอบครองของเยอรมัน จะเห็นว่าฝรั่งเศสแบ่งออกเป็นสองส่วน คือส่วนที่เยอรมันครอบครอง และส่วนที่ไม่ได้ครอบครอง (Unoccupied Zone) แต่ปกครองโดยรัฐบาลหุ่นของเยอรมัน โดยจอมพลวิซี่
สีน้ำตาลเข้ม คือฝ่ายอักษะ ซึ่งเป็นพันธมิตรของเยอรมัน มีทั้ง อิตาลี ฮังการี โรมาเนีย บัลกาเรีย ฟินแลนด์
สีขาวคือ ประเทศเป็นกลาง มี สวิตเซอร์แลนด์ สเปน สวีเดน และไอร์แลนด์ สเปนเป็นประเทศที่ฮิตเลอร์ผิดหวังมาก เพราะก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง ฮิตเลอร์ส่งกำลังเข้าไปช่วยในสงครามกลางเมือง แต่เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่สองขึ้น รัฐบาลสเปนกลับวางตัวเป็นกลาง แทนที่จะเข้าร่วมกับเยอรมัน
สีเขียวคือฝ่ายพันธมิตร มีอังกฤษ และรัสเซีย
เครดิตจากเวป http://www.geocities.com คับท่าน ^^ ความรู้ประดับหัว หุหุ
วันศุกร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2556
ประวัติ สงครามโลกครั้งที่ 1
สงครามโลกครั้งที่ 1 บทเรียนประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก baanjomyut.com , สารานุกรมไทย
สงคราม คือสิ่งเลวร้ายที่สุดที่มนุษย์กระทำต่อกัน เพราะเมื่อใดที่เกิดภาวะสงคราม ย่อมหมายถึง การสูญเสีย ความเสียหายและความทุกข์ทรมานของทุกฝ่าย ไม่ว่าสุดท้ายฝ่ายใดจะเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะก็ตาม อย่างเช่นในสงครามโลกครั้งที่ 1 ที่มีการสู้รบและสูญเสียต่อเนื่องยาวนานเป็นเวลาหลายปี บทเรียนนี้ทำให้เราควรย้อนกลับมาดูปมของความขัดแย้งที่เกิดขึ้นว่า สงครามครั้งนี้เริ่มต้นจากอะไร ฝ่ายไหนได้รับชัยชนะและไทยมีบทบาทในสงครามโลกครั้งนี้อย่างไร มาติดตามเรื่องราวกันได้เลย
สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่ 1
สงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นสงครามที่เริ่มและมีศูนย์กลางอยู่ในทวีปยุโรป ชนวนเหตุสำคัญของความขัดแย้งเริ่มจาก เมื่อ วันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1914 เกิดการลอบปลงพระชนม์ อาร์ช ดยุก ฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์ มกุฎราชกุมารแห่งจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ขณะเสด็จเยือนกรุงซาราเจโว เมืองหลวงของแคว้นบอสเนีย-เฮอร์เซโกวีนา โดย กัฟรีโล ปรินซีป นักชาตินิยมชาวเซอร์เบีย ออสเตรีย-ฮังการี เชื่อว่า เซอร์เบียอยู่เบื้องหลังในการกระทำดังกล่าว จึงยื่นคำขาดต่อราชอาณาจักรเซอร์เบีย เป็นข้อเรียกร้อง 10 ประการ ซึ่งมีเจตนาทำให้ยอมรับไม่ได้และจุดชนวนสงครามขึ้น เมื่อเซอร์เบียยอมตกลงในข้อเรียกร้องเพียง 8 ข้อ ออสเตรีย-ฮังการี จึงประกาศสงครามเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1914
ทั้งนี้ ตัวเร่งไฟสงครามให้โหมกระหน่ำมาจากปมปัญหาเรื่องสมดุลอำนาจที่สั่งสมมานาน ของหลายประเทศในภาคพื้นยุโรป ทั้งเรื่องการแข่งขันทางเศรษฐกิจ การแย่งชิงอาณานิคมและระบบภาคีพันธมิตรที่แบ่งเป็น 2 ฝ่ายมหาอำนาจก่อนหน้านี้ โดยแยกเป็น ฝ่ายสัญญาไตรภาคี ประกอบด้วย เยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี อิตาลี และฝ่ายสัญญาไตรพันธมิตร ประกอบด้วย อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย ซึ่งชาติพันธมิตรเหล่านี้ รวมถึงชาติอาณานิคมของแต่ละประเทศ ต่างถูกดึงให้เข้าร่วมในสงคราม ทำให้ความขัดแย้งลุกลามไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว

ภาพรวมการรบของสงครามโลกครั้งที่ 1
สงครามเปิดฉากในวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1914 วันเดียวกับการประกาศสงคราม ประเทศออสเตรีย-ฮังการี ได้เปิดฉากรุกรานเซอร์เบียเป็นครั้งแรก ส่วนเยอรมันที่อยู่ฝ่ายเดียวกัน ก็เปิดฉากรุกรานเบลเยียม เป็นจุดเริ่มของสงครามที่ยากเกินจะยับยั้งอีกต่อไป
สงครามครั้งนี้แบ่งเป็น 2 ฝ่ายคือ ฝ่ายมหาอำนาจไตรภาคีมี ฝรั่งเศส อังกฤษ รัสเซีย และประเทศอาณานิคม หลังจากนั้นได้มีชาติมหาอำนาจเข้าร่วมเพิ่มเติมคือ จักรวรรดิญี่ปุ่น เมื่อเดือนสิงหาคม ปี 1914 , อิตาลี เมื่อเดือนเมษายน ปี 1915 และสหรัฐอเมริกา เมื่อเดือนเมษายน ปี 1917
ส่วนอีกฝ่ายคือ ฝ่ายมหาอำนาจกลาง ประกอบด้วย จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี จักรวรรดิเยอรมนีและดินแดนอาณานิคม จากนั้นมีจักรวรรดิออตโตมาน เข้าร่วมด้วยในเดือนตุลาคม ปี 1914 และบัลแกเรียในปี 1915 มีประเทศที่วางตัวเป็นกลางไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดคือ เนเธอร์แลนด์ สเปน และประเทศตามคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย แม้ว่าประเทศเหล่านี้อาจจะเคยส่งเสบียงและยุทโธปกรณ์ไปช่วยเหลือบางประเทศ ที่รบอยู่ก็ตาม
การสู้รบที่เกิดขึ้นตามแนวรบด้านตะวันตก จะเป็นการรบรูปแบบ สนามเพลาะ (การขุดหลุมเป็นแนวยาวหลายแนวสลับซับซ้อนกัน ด้านหน้าสร้างลวดหนามไว้ต้านทานข้าศึก) และป้อมปราการซึ่งถูกแยกออกจากกันด้วยดินแดนรกร้าง แนวปราการทั้ง 2 ฝ่าย จะตรึงขนานกันเป็นระยะมากกว่า 600 กิโลเมตร
ส่วนในแนวรบด้านตะวันออก เนื่องจากเป็นที่ราบกว้างขวางและมีเครือข่ายทางรถไฟจำกัด ทำให้ไม่สามารถรบรูปแบบสนามเพลาะได้ แม้ว่าความรุนแรงจะไม่ต่างจากด้านตะวันตกก็ตาม ขณะที่แนวรบตะวันออกกลางและแนวรบอิตาลี ก็มีการสู้รบกันอย่างดุเดือดเช่นกัน สงครามครั้งนี้ยังเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของการรบทางอากาศอีกด้วย
หลังจากการรบที่ยาวนานตั้งแต่ วันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1914 ถึงวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 รวมเวลากว่า 4 ปี 4 เดือน ในที่สุด ฝ่ายที่ได้รับชัยชนะคือ ฝ่ายพันธมิตรที่มีแกนนำเป็น ฝรั่งเศส อังกฤษ รัสเซีย ส่วนฝ่ายที่พ่ายแพ้คือ ฝ่ายมหาอำนาจกลาง ที่ประกอบด้วย จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี จักรวรรดิเยอรมนี ภายหลังสงครามได้มีการเซ็นสนธิสัญญาจำนวนมาก แต่สัญญาที่สำคัญคือ สนธิสัญญาแวร์ซายส์ (สนธิสัญญาสันติภาพ ซึ่งเป็นการยุติสถานะสงครามระหว่างฝ่ายสัมพันธมิตรและจักรวรรดิเยอรมัน) เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 1919
ผลกระทบของสงครามโลกครั้งที่ 1
ผลสำคัญอย่างหนึ่งคือ มีการวาดรูปแผนที่ยุโรปใหม่ ทำให้ประเทศมหาอำนาจสูญเสียดินแดนของตัวเองเป็นจำนวนมาก
- จักรวรรดิออสเตรีย- ฮังการี แตกออกเป็นประเทศใหม่ ได้แก่ ออสเตรีย ฮังการี เชโกสโลวาเกีย ยูโกสลาเวีย
- จักรวรรดิออตโตมานล่มสลายไป แผ่นดินเดิมของจักรวรรดิบางส่วน ถูกแบ่งให้กลายเป็นอาณานิคมของผู้ชนะสงครามทั้งหลาย
- เยอรมัน ต้องชดใช้ค่าปฏิกรรมสงครามจำนวนมหาศาล
- จักรวรรดิรัสเซีย ได้สูญเสียดินแดนชายแดนด้านตะวันตกจำนวนมาก กลายเป็นประเทศใหม่ ได้แก่ เอสโตเนีย ฟินแลนด์ ลัตเวีย ลิทัวเนียและโปแลนด์
ขณะเดียวกัน ผู้ชนะสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้มีการก่อตั้ง สันนิบาตชาติ เป็นองค์การที่มีสมาชิกหลายประเทศ โดยมีจุดประสงค์อยู่ที่การแก้ไขปัญหาระหว่างประเทศด้วยวิธีการทางการทูต สหรัฐอเมริกาที่ได้เข้าร่วมรบ ก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจโลกเสรีเคียงคู่กับอังกฤษและฝรั่งเศส ส่วนรัสเซียกลายเป็นมหาอำนาจโลกสังคมนิยม ต่อมาสามารถขยายอำนาจไปผนวกกับแคว้นต่าง ๆ เช่น ยูเครน เบลารุส ฯลฯ จึงประกาศจัดตั้งสหภาพโซเวียต (Union of Soviet Republics -USSR) ในปี ค.ศ. 1922
ส่วน สนธิสัญญาแวร์ซาย ที่ร่างโดยฝ่ายชนะสงครามให้กับเยอรมนีและสนธิสัญญาสันติภาพอีก 4 ฉบับให้กับพันธมิตรของเยอรมนีนั้น ก็เพื่อให้ฝ่ายผู้แพ้ยอมรับผิดในฐานะเป็นผู้ก่อให้เกิดสงคราม แล้วต้องเสียค่าปฏิกรรมสงคราม เสียดินแดนทั้งในยุโรปและอาณานิคม ต้องลดกำลังทหารกับอาวุธ และต้องถูกพันธมิตรเข้ายึดครองดินแดน จนกว่าจะปฏิบัติตามเงื่อนไขของสนธิสัญญา แต่เนื่องจากประเทศผู้แพ้ไม่ได้เข้าร่วมในการร่างสนธิสัญญา แต่ถูกบีบบังคับให้ลงนามยอมรับข้อตกลงของสนธิสัญญา จึงเกิดการต่อต้านในหลายประเทศ เช่น การก่อตัวของลัทธิฟาสซิสต์ในอิตาลี นาซีในเยอรมันและเผด็จการทหารในญี่ปุ่น ซึ่งในเวลาต่อมา ประเทศมหาอำนาจทั้ง 3 ได้ร่วมมือเป็นพันธมิตรระหว่างกัน เพื่อต่อต้านโลกเสรีและคอมมิวนิสต์ เรียกกันว่าฝ่ายอักษะ (Axis) มีการจัดตั้งองค์กรกลางในการเจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างประเทศ เพื่อความมั่นคงปลอดภัยและสันติภาพของโลกในอนาคต
ไทยกับสงครามโลกครั้งที่ 1
สงครามโลกครั้งที่ 1 ได้เกิดขึ้นตรงกับ พ.ศ. 2457 ขณะนั้นประเทศไทยวางตัวเป็นกลาง แต่เนื่องด้วยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงติดตามสถานการณ์สงครามอย่างใกล้ชิด แล้วทรงเห็นว่าฝ่ายเยอรมันเป็นฝ่ายที่รุกราน จึงทรงตัดสินพระทัยประกาศสงครามกับเยอรมนีและออสเตรีย -ฮังการี เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2460 จึงมีการประกาศเรียกพลทหารอาสาสำหรับกองบินและกองยานยนตร์ทหารบก เพื่อเข้าร่วมรบในสมรภูมิยุโรป
การไปร่วมรบครั้งนี้ทหารไทยได้ประสบกาณ์มากมาย ทั้งทางเทคนิคการรบ และทางการช่างในสงครามจริง ไทยยังได้เปลี่ยนธงชาติที่มีสัญลักษณ์รูปช้าง เป็นธงไตรรงค์เพื่อใช้ในการนี้ด้วย
หลัง สงครามเสร็จสิ้น ฝ่ายสัมพันธมิตรที่ไทยไปช่วยรบได้รับชนะ ไทยได้รับเชิญให้เข้าเป็นสมาชิกประเภทริเริ่มองค์การสันนิบาตชาติ อันเป็นหลักประกันความปลอดภัยของประเทศ ทั้งยังได้รับเกียรติเข้าร่วมทำสนธิสัญญาแวร์ซาย ได้ทำการยกเลิกสัญญาที่เคยทำไว้กับออสเตรีย – ฮังการีและเยอรมัน ต่อมามีการสร้างอนุสาวรีย์ที่เกี่ยวกับสงครามโลกครั้งนี้ และในด้านการทหาร ได้จัดตั้งกรมอากาศยานขึ้นเป็นครั้งแรกอีกด้วย
ได้ทราบถึงประวัติความเป็นมาของสงครามโลกครั้งที่ 1 ไปแล้ว เชื่อว่าหลายคนคงได้ข้อคิดสำคัญคือ ไม่ควรแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ด้วยความรุนแรง เพราะนอกจากจะไม่ช่วยแก้ปัญหาแล้ว ยังเพิ่มความรุนแรงให้กับปัญหาได้อีกด้วยครับ
วันอังคารที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2556
Mercedes Benz

ประวัติความเป็นมา ของ Mercedes Benz
สองนักประดิษฐ์ผู้หมุนกงล้อประวัติศาสตร์คาร์ล เบนซ์ และกอตต์ลีบ เดมเลอร์ คือผู้บุกเบิกแห่งโลกยนตรกรรมทั้งคู่เป็นนักประดิษฐ์ และพัฒนายานยนต์ ในช่วงทศวรรษที่ 1920 ได้ร่วมกิจการเป็นบริษัทเดมเลอร์-เบนซ์ เอจี(Daimler-Benz AG) ผู้ผลิตรถคุณภาพในนามเมอร์เซเดส-เบนซ์
กอตต์ลีบ เดมเลอร์ คือผู้นำระบบสันดาปภายในมาสนองวิสัยทัศน์แห่งการขับขี่ขนส่งโดยเริ่มทดสอบเครื่องยนต์พลังสูงเครื่องแรกของโลกในปี 1883 สองปีต่อมาเขาได้ผลิตจักรยานยนต์คันแรกของโลกโดยติดตั้งเครื่องยนต์เข้ากับจักรยานอีกสามปีต่อมา เขาได้ติดตั้งเครื่องยนต์ดังกล่าวเข้ากับตัวรถม้านับเป็นรถยนต์สี่ล้อคันแรกในชีวิตนักประดิษฐ์ของเขา
คาร์ล เบนซ์ เลือกเส้นทางยนตรกรรมที่แตกต่างจาก เดมเลอร์ เขาถือว่าการสร้างรถยนต์จะต้องอาศัยหลักการที่แตกต่างจากระบบรถเทียมม้าโดยสิ้นเชิงด้วย เหตุนี้เขาจึงออกแบบยานยนต์ให้มีสามล้อติดตั้งเครื่องยนต์หนึ่งสูบในแนวนอน และได้จดทะเบียนสิทธิบัตร เมื่อวันที่ 19 มกราคม ค.ศ. 1986 จำนวนรถที่ผลิตจากโรงงานของเขาพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อรถรุ่น "เวโล(velo)" เริ่มปรากฏโฉมโดยระหว่างปี 1894 ถึง 1901 ผลิตได้ถึง 1,200 คัน อาจกล่าวได้ว่านั่นคือจุดเริ่มต้นของอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์
ศาสตร์ และศิลป์แห่งยนตรกรรม
เกียรติประวัติอันยาวนานได้พิสูจน์ว่า เมอร์เซเดส-เบนซ์ ไม่ได้เป็นแค่พาหนะใช้งาน แต่เป็นผลึกความคิดซึ่งตกทอดมาจากรถคันแรกที่ใช้ชื่อ "เมอร์เซเดส" เมื่อ ค.ศ. 1900 ซึ่งมีรูปลักษณ์อันแตกต่างอย่างสิ้นเชิงเมื่อเทียบกับบรรดา "รถม้าที่ไม่ใช้ม้าลาก" ในยุคนั้นกล่าวคือ มีเครื่องยนต์ติดตั้งด้านหน้า บังคับถอยหลังได้ ติดกระจังหม้อน้ำแบบรวงผึ้ง มีกลไกเปลี่ยนเกียร์ดรัมเบรก และแกนพวงมาลัยแนวเฉียง นวัตกรรมเหล่านี้ คือคุณลักษณะที่โดดเด่นมาจนถึงวาระแห่งการเปิดศักราชเครื่องยนต์พลังงานสูงในปี 1921 ด้วยฝีมือสร้างสรรค์ของเฟอร์ดินาน พอร์ช และนับจากนั้นเป็นต้นมา เมอร์เซเดส-เบนซ์หลายรุ่นก็เรียงแถวออกมาเป็นดาวเด่นในวงการยานยนต์จนถึงปี 1952
ตำนานดาวสามแฉกในกรุงสยาม
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงสนพระทัยเรื่องรถยนต์เป็นอย่างมากจนกระทั่งในปี พ.ศ.2447 เสด็จกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ได้เสด็จไปรักษาพระองค์ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ได้ทรงสั่งให้บริษัทเยอรมันในกรุงปารีส ประกอบรถยนต์เก๋งหนึ่งคัน ยี่ห้อเมอร์เซเดส รุ่น 28 hp 4 สูบ เครื่องยนต์ 35 แรงม้าหมายเลขแชสซี คือ 2397 และหมายเลขเครื่องยนต์ คือ 4290 และได้ทรงนำรถขึ้นทูลเกล้าฯถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นที่พอพระราชหฤทัยยิ่งนัก รถคันนี้ คือรถยนต์พระที่นั่งคันแรกในประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาทรงเล็งเห็นว่ารถยนต์เพียงคันเดียวไม่เพียงพอที่จะใช้งานตามพระราชประสงค์ เนื่องจากพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายหน้า และฝ่ายในหลายพระองค์ก็ทรงโปรดปรานรถยนต์กันทั้งนั้น จึงได้ตัดสินพระทัยซื้อรถยนต์พระที่นั่งอีกหนึ่งคัน และทรงเลือกเมอร์เซเดส-เบนซ์อีกครั้ง สั่งนำเข้าโดยตรงจากเยอรมนี เป็นรถเก๋งสีแดง รุ่นปี 2448 เครื่องยนต์สี่ลูกสูบขนาด 28 แรงม้า วิ่งเร็ว 73 กม. ต่อชั่วโมงซึ่งนับว่าเร็วมากในยุคนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานนามแก่รถยนต์ว่า "แก้วจักรพรรดิ์"
ด้วยศักยภาพในการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศไทยบริษัทเดมเลอร์ไครสเลอร์(ประเทศไทย) จำกัด จึงได้เข้ามาดำเนินกิจการในประเทศครอบคลุมทั้งการนำเข้า และประกอบรถยนต์ จัดจำหน่ายรถยนต์นั่งสาธารณะ และรถยนต์นั่งส่วนบุคคล ดาวสามแฉก ได้มาส่องสกาวนำทางอยู่บนท้องถนนเมืองไทยนับเป็นเวลากว่า 100 ปี และได้รับความนิยมชมชื่นในฐานะรถคุณภาพชั้นนำที่รับใช้คนไทยมาหลายยุคสมัย จวบจนวันนี้ได้มีรถเมอร์เซเดส-เบนซ์ โลดแล่นอย่างโดดเด่นเป็นสง่าทั่วประเทศไทยมาแล้วกว่า 100,000 คัน และเมอร์เซเดส-เบนซ์ยังคงก้าวไปอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อรักษาความเป็นผู้นำแห่งยนตรกรรมเลิศหรูในประเทศไทยอย่างแท้จริง
กำเนิดTVและวิทยุ
ประวัติความเป็นมาโทรทัศน์และวิทยุ
กำเนิดโทรทัศน์กว่าจะมาเป็นโทรทัศน์สีจอกว้างจอแบน ที่มีระบบอันทันสมัยนานาประการหลายสิบหลายร้อยยี่ห้อดังเช่นทุกวันนี้นั้น หากย้อนหลังไปในปี ค.ศ. 1925 โทรทัศน์ขาว-ดำ เครื่องแรกของโลกที่ถูกสร้างขึ้นได้นั้น เป็นผลงานการประดิษฐ์ของ จอห์น ลอกกี้ เบรียด ชาวสก๊อตแลนด์ จอห์น ได้มุมานะทดลองการรับส่งสัญญาณภาพอยู่นานหลายปีจนสำเร็จ โดยสามารถส่งภาพวัตถุไปยังเครื่องรับอีกเครื่องหนึ่งที่อยู่ห่างกันได้อย่าง ชัดเจน
และนับจากวันนั้น โทรทัศน์ก็ครองใจคนเรื่อยมา
และนับจากวันนั้น โทรทัศน์ก็ครองใจคนเรื่อยมา
ประวัติวิทยุกระจายเสียงกล่าวกันว่าต้องใช้เวลาถึง 1 ศตวรรษกว่าที่การถ่ายรูปจะเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย โทรศัพท์ใช้เวลานาน 50 ปี เทคโนโลยีวิทยุสื่อสารใช้เวลา 35 ปี แต่วิทยุรูปแบบพิเศษไร้สายที่เรียกกันว่า การกระจายเสียงหรือ broadcasting นั้น ใช้เวลาเพียง 8 ปีเท่านั้น
มนุษย์เริ่มบริโภคสื่อในช่วงแรกจากสื่อสิ่งพิมพ์แบบ ประชานิยม เครื่องเล่นแผ่นเสียง และภาพยนตร์ เป็นเวลานาน ก่อนที่จะมีการกระจายเสียงเกิดขึ้น สื่อสมัยเก่าเกิดขึ้นมาพร้อมๆกับการประดิษฐ์คิดค้นทางช่างของศตวรรษที่ 19 และจากการเปลี่ยนแปลงพื้นฐานทางสังคมที่เกิดจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม (ประมาณ ค.ศ. 1750-1850) ซึ่งผันชีวิตผู้คนในโลกตะวันตกจากสังคมเกษตรกรรม ให้เดินทางเข้ามาทำมาหากินกันในเมืองใหญ่มากขึ้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 การกระจุกตัวของประชาชนในเมืองใหญ่กลายเป็นกลุ่มเป้าหมายของสิ่งที่เราเรียก กันว่า “สื่อมวลชน” หรือ “mass media” ซึ่งหมายถึงตัวกลางของการติดต่อสื่อสารที่ใช้เทคโนโลยีเป็นสื่อเข้าถึง ประชาชนจำนวนมากในคราวเดียวกัน ด้วยข่าวสารและความบันเทิงที่ดึงดูดความสนใจของประชาชนเหล่านั้น
แต่เดิมนั้น หนังสือพิมพ์ถูกนับว่าเป็นสิ่งพิเศษสำหรับชนชั้นสูง ปัจจัยหลายๆด้าน เช่น การกระจุกตัวของชุมชนเมือง การพัฒนาการศึกษา อัตราเพิ่มของการรู้หนังสือของประชาชนและความต้องการพักผ่อนหย่อนใจ ต่างก็ช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสถานภาพของสื่อสิ่งพิมพ์ มาเป็นสิ่งธรรมดาที่คนทั่วไปในระดับล่างสามารถเข้าถึงได้ สื่อสิ่งพิมพ์ที่เรียกกันว่า “The Penny Press” เป็นตัวชี้วัดในกรณีนี้ได้เป็นอย่างดี หลังจาก ค.ศ. 1833 หนังสือพิมพ์ Sun ในรัฐ New York เป็นผู้นำแนวทางใหม่ไปสู่การผลิตหนังสือพิมพ์เพื่อมวลชนด้วยการตั้งราคาขาย เพียงฉบับละ 1 เพนนี โดยระยะแรกขายเพียงจำนวนหลักพันฉบับ และในที่สุดก็มียอดขายเพิ่มถึงนับแสนฉบับเลยทีเดียว หนังสือพิมพ์ในสมัยนั้นเน้นการเสนอข่าวธุรกิจการค้า พรรคการเมือง และประเด็นหนักๆ ต่อมาหนังสือพิมพ์ประชานิยมได้ขยายขอบข่ายของการเสนอเรื่องราวต่างๆ
มีการหากินกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน คดีอาชญากรรม ข่าวซุบซิบ เรื่องที่อยู่ในความสนใจของผู้คน และกีฬา ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นการนำเสนอในรูปแบบภาษาที่หวือหวา ซึ่งขัดแย้งกับการใช้ภาษาสวยงามในรูปแบบเรียงความอย่างที่เคยเป็นมาในอดีต หนังสือพิมพ์ประชานิยมนี้สามารถดึงดูดผู้อ่านจำนวนมากด้วยการเข้าถึงคนทุก เพศทุกวัยโดยไม่จำกัดชนชั้นและสถานภาพทางสังคม ภายในทศวรรศที่ 1890s หนังสือพิมพ์บางฉบับมียอดจำหน่ายถึงกว่าล้านฉบับทีเดียว ความนิยมของผู้คนในการอ่านหนังสือพิมพ์นั้นนับได้ว่าช่วยบ่มเพาะพฤติกรรมการ บริโภคสื่อสารมวลชน ซึ่งขยายไปสู่การบริโภคสื่อมวลชนอื่นๆในเวลาต่อมา
การกระจายเสียงในยุคแรกๆสืบทอดมาจากคณะนักร้องละคร เพลงเร่ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในช่วง ค.ศ. 1880-1920 เรียกว่า “vaudeville” การแสดงของพวกเขาสามารถทำเงินได้เป็นจำนวนมากจากการออกเร่ไปพบผู้ชมนับร้อย รอบ สาเหตุแห่งความสำเร็จของ vaudeville ก็คือพวกเขานำความบันเทิงไปถึงตัวผู้ชมโดยที่ผู้ชมไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง วิธีการนี้เป็นแนวทางเดียวกับการใช้สื่อชนิดใหม่ๆที่ตามมา เช่น ภาพยนตร์ และวิทยุกระจายเสียง ที่สามารถทำเงินได้จากการนำเสนอความบันเทิงไปให้กับผู้ชมได้ถึงบ้านนั่นเอง
ในศตวรรษที่ 19 ประชาชนในประเทศตะวันตกจึงเริ่มคุ้นเคยและลงทุนซื้อหาเฟอร์นิเจอร์ประดับ บ้านชิ้นใหม่ คือเครื่องเล่นแผ่นเสียง ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ผู้ผลิตเครื่องเล่นแผ่นเสียง 200 รายในประเทศสหรัฐอเมริกา มีการผลิตกันมากถึงปีละกว่า 200 เครื่องทีเดียว อย่างไรก็ตามการอัดแผ่นเสียงยังคงใช้เทคนิคที่ล้าสมัยซึ่งไม่แตกต่างจากวิธี การที่ Thomas Edison ใช้ในปี ค.ศ. 1878 วิทยุกระจายเสียงได้ก่อกำเนิดขึ้นมาในช่วงทศวรรษที่ 1920s และกลับกลายมาเป็นคู่แข่งสำคัญของเครื่องเล่นแผ่นเสียงในเวลาต่อมา เมื่อประกอบกับช่วงเศรษฐกิจตกต่ำที่ส่งผลกระทบกับอุตสาหกรรมแผ่นเสียง ธุรกิจแผ่นเสียงจึงล้มหายตายจากไปใน ค.ศ. 1933
ที่น่าแปลกก็คือ แม้ว่าวิทยุกระจายเสียงจะเป็นตัวทำให้ธุรกิจแผ่นเสียงมีอันเป็นไป แต่วิทยุกระจาย เสียงก็ช่วยชุบชีวิตใหม่ของธุรกิจแผ่นเสียงให้กลับคืนมาได้เช่นกัน เนื่องจากประชาชนมีความต้องการฟังรายการเพลงทางสื่อวิทยุกระจายเสียงกัน มาก ประกอบกับเทคนิคการบันทึกเสียงได้มีการพัฒนาขึ้นกว่าเดิม
ส่วนภาพยนตร์นั้นมีวิวัฒนาการควบคู่มากับแผ่นเสียง ซึ่งบุคคลสำคัญเบิ้องหลังเทคโนโลยีทั้งสองประเภทก็คือ Thomas Edision นั่นเอง ภาพยนตร์ได้รับความนิยมในฐานะสื่อที่ให้ทั้งความรู้และความบันเทิง แต่ก็ยังถูกแซงโดยวิทยุกระจายเสียงซึ่งมีบทบาทเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มีการแข่งขันในระบบต่างๆเพื่อให้ประชาชนยอมรับ จนในที่สุดสถานีวิทยุกระจายเสียงระดับชาติแห่งแรกก็ถูกตั้งขึ้นในประเทศ สหรัฐอเมริกาโดยบริษัท RCA ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีตราบจนทุกวันนี้
ที่มา :
http://www.nonburee.com/page10.htm
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)