ประวัติความเป็นมาโทรทัศน์และวิทยุ
กำเนิดโทรทัศน์กว่าจะมาเป็นโทรทัศน์สีจอกว้างจอแบน ที่มีระบบอันทันสมัยนานาประการหลายสิบหลายร้อยยี่ห้อดังเช่นทุกวันนี้นั้น หากย้อนหลังไปในปี ค.ศ. 1925 โทรทัศน์ขาว-ดำ เครื่องแรกของโลกที่ถูกสร้างขึ้นได้นั้น เป็นผลงานการประดิษฐ์ของ จอห์น ลอกกี้ เบรียด ชาวสก๊อตแลนด์ จอห์น ได้มุมานะทดลองการรับส่งสัญญาณภาพอยู่นานหลายปีจนสำเร็จ โดยสามารถส่งภาพวัตถุไปยังเครื่องรับอีกเครื่องหนึ่งที่อยู่ห่างกันได้อย่าง ชัดเจน
และนับจากวันนั้น โทรทัศน์ก็ครองใจคนเรื่อยมา
และนับจากวันนั้น โทรทัศน์ก็ครองใจคนเรื่อยมา
ประวัติวิทยุกระจายเสียงกล่าวกันว่าต้องใช้เวลาถึง 1 ศตวรรษกว่าที่การถ่ายรูปจะเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย โทรศัพท์ใช้เวลานาน 50 ปี เทคโนโลยีวิทยุสื่อสารใช้เวลา 35 ปี แต่วิทยุรูปแบบพิเศษไร้สายที่เรียกกันว่า การกระจายเสียงหรือ broadcasting นั้น ใช้เวลาเพียง 8 ปีเท่านั้น
มนุษย์เริ่มบริโภคสื่อในช่วงแรกจากสื่อสิ่งพิมพ์แบบ ประชานิยม เครื่องเล่นแผ่นเสียง และภาพยนตร์ เป็นเวลานาน ก่อนที่จะมีการกระจายเสียงเกิดขึ้น สื่อสมัยเก่าเกิดขึ้นมาพร้อมๆกับการประดิษฐ์คิดค้นทางช่างของศตวรรษที่ 19 และจากการเปลี่ยนแปลงพื้นฐานทางสังคมที่เกิดจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม (ประมาณ ค.ศ. 1750-1850) ซึ่งผันชีวิตผู้คนในโลกตะวันตกจากสังคมเกษตรกรรม ให้เดินทางเข้ามาทำมาหากินกันในเมืองใหญ่มากขึ้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 การกระจุกตัวของประชาชนในเมืองใหญ่กลายเป็นกลุ่มเป้าหมายของสิ่งที่เราเรียก กันว่า “สื่อมวลชน” หรือ “mass media” ซึ่งหมายถึงตัวกลางของการติดต่อสื่อสารที่ใช้เทคโนโลยีเป็นสื่อเข้าถึง ประชาชนจำนวนมากในคราวเดียวกัน ด้วยข่าวสารและความบันเทิงที่ดึงดูดความสนใจของประชาชนเหล่านั้น
แต่เดิมนั้น หนังสือพิมพ์ถูกนับว่าเป็นสิ่งพิเศษสำหรับชนชั้นสูง ปัจจัยหลายๆด้าน เช่น การกระจุกตัวของชุมชนเมือง การพัฒนาการศึกษา อัตราเพิ่มของการรู้หนังสือของประชาชนและความต้องการพักผ่อนหย่อนใจ ต่างก็ช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสถานภาพของสื่อสิ่งพิมพ์ มาเป็นสิ่งธรรมดาที่คนทั่วไปในระดับล่างสามารถเข้าถึงได้ สื่อสิ่งพิมพ์ที่เรียกกันว่า “The Penny Press” เป็นตัวชี้วัดในกรณีนี้ได้เป็นอย่างดี หลังจาก ค.ศ. 1833 หนังสือพิมพ์ Sun ในรัฐ New York เป็นผู้นำแนวทางใหม่ไปสู่การผลิตหนังสือพิมพ์เพื่อมวลชนด้วยการตั้งราคาขาย เพียงฉบับละ 1 เพนนี โดยระยะแรกขายเพียงจำนวนหลักพันฉบับ และในที่สุดก็มียอดขายเพิ่มถึงนับแสนฉบับเลยทีเดียว หนังสือพิมพ์ในสมัยนั้นเน้นการเสนอข่าวธุรกิจการค้า พรรคการเมือง และประเด็นหนักๆ ต่อมาหนังสือพิมพ์ประชานิยมได้ขยายขอบข่ายของการเสนอเรื่องราวต่างๆ
มีการหากินกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน คดีอาชญากรรม ข่าวซุบซิบ เรื่องที่อยู่ในความสนใจของผู้คน และกีฬา ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นการนำเสนอในรูปแบบภาษาที่หวือหวา ซึ่งขัดแย้งกับการใช้ภาษาสวยงามในรูปแบบเรียงความอย่างที่เคยเป็นมาในอดีต หนังสือพิมพ์ประชานิยมนี้สามารถดึงดูดผู้อ่านจำนวนมากด้วยการเข้าถึงคนทุก เพศทุกวัยโดยไม่จำกัดชนชั้นและสถานภาพทางสังคม ภายในทศวรรศที่ 1890s หนังสือพิมพ์บางฉบับมียอดจำหน่ายถึงกว่าล้านฉบับทีเดียว ความนิยมของผู้คนในการอ่านหนังสือพิมพ์นั้นนับได้ว่าช่วยบ่มเพาะพฤติกรรมการ บริโภคสื่อสารมวลชน ซึ่งขยายไปสู่การบริโภคสื่อมวลชนอื่นๆในเวลาต่อมา
การกระจายเสียงในยุคแรกๆสืบทอดมาจากคณะนักร้องละคร เพลงเร่ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในช่วง ค.ศ. 1880-1920 เรียกว่า “vaudeville” การแสดงของพวกเขาสามารถทำเงินได้เป็นจำนวนมากจากการออกเร่ไปพบผู้ชมนับร้อย รอบ สาเหตุแห่งความสำเร็จของ vaudeville ก็คือพวกเขานำความบันเทิงไปถึงตัวผู้ชมโดยที่ผู้ชมไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง วิธีการนี้เป็นแนวทางเดียวกับการใช้สื่อชนิดใหม่ๆที่ตามมา เช่น ภาพยนตร์ และวิทยุกระจายเสียง ที่สามารถทำเงินได้จากการนำเสนอความบันเทิงไปให้กับผู้ชมได้ถึงบ้านนั่นเอง
ในศตวรรษที่ 19 ประชาชนในประเทศตะวันตกจึงเริ่มคุ้นเคยและลงทุนซื้อหาเฟอร์นิเจอร์ประดับ บ้านชิ้นใหม่ คือเครื่องเล่นแผ่นเสียง ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ผู้ผลิตเครื่องเล่นแผ่นเสียง 200 รายในประเทศสหรัฐอเมริกา มีการผลิตกันมากถึงปีละกว่า 200 เครื่องทีเดียว อย่างไรก็ตามการอัดแผ่นเสียงยังคงใช้เทคนิคที่ล้าสมัยซึ่งไม่แตกต่างจากวิธี การที่ Thomas Edison ใช้ในปี ค.ศ. 1878 วิทยุกระจายเสียงได้ก่อกำเนิดขึ้นมาในช่วงทศวรรษที่ 1920s และกลับกลายมาเป็นคู่แข่งสำคัญของเครื่องเล่นแผ่นเสียงในเวลาต่อมา เมื่อประกอบกับช่วงเศรษฐกิจตกต่ำที่ส่งผลกระทบกับอุตสาหกรรมแผ่นเสียง ธุรกิจแผ่นเสียงจึงล้มหายตายจากไปใน ค.ศ. 1933
ที่น่าแปลกก็คือ แม้ว่าวิทยุกระจายเสียงจะเป็นตัวทำให้ธุรกิจแผ่นเสียงมีอันเป็นไป แต่วิทยุกระจาย เสียงก็ช่วยชุบชีวิตใหม่ของธุรกิจแผ่นเสียงให้กลับคืนมาได้เช่นกัน เนื่องจากประชาชนมีความต้องการฟังรายการเพลงทางสื่อวิทยุกระจายเสียงกัน มาก ประกอบกับเทคนิคการบันทึกเสียงได้มีการพัฒนาขึ้นกว่าเดิม
ส่วนภาพยนตร์นั้นมีวิวัฒนาการควบคู่มากับแผ่นเสียง ซึ่งบุคคลสำคัญเบิ้องหลังเทคโนโลยีทั้งสองประเภทก็คือ Thomas Edision นั่นเอง ภาพยนตร์ได้รับความนิยมในฐานะสื่อที่ให้ทั้งความรู้และความบันเทิง แต่ก็ยังถูกแซงโดยวิทยุกระจายเสียงซึ่งมีบทบาทเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มีการแข่งขันในระบบต่างๆเพื่อให้ประชาชนยอมรับ จนในที่สุดสถานีวิทยุกระจายเสียงระดับชาติแห่งแรกก็ถูกตั้งขึ้นในประเทศ สหรัฐอเมริกาโดยบริษัท RCA ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีตราบจนทุกวันนี้
ที่มา :
http://www.nonburee.com/page10.htm
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น